คงปฏิเสธไม่ได้ว่าอวัยวะที่เรียกว่า ‘หัวใจ’ เป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดในการมีชีวิต เพราะไม่เพียงแต่เป็นศูนย์กลางของระบบไหลเวียนเลือดที่ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายผ่านทางเส้นเลือดแล้ว ยังถือเป็นอวัยวะที่บ่งบอกถึงความแข็งแรงของร่างกายได้อีกด้วย และเมื่อหลอดเลือดของหัวใจมีความผิดปกติ จะส่งผลให้หัวใจทำงานหนักมากขึ้น จนก่อให้เกิดปัญหาหัวใจวายหรือที่เรียกกันว่า ภาวะหัวใจล้มเหลว (Heart Failure) และเสียชีวิตในที่สุด โครงการ Every Beat Matters “เพราะทุกจังหวะมีความหมาย” จึงจุดประกายร่วมรณรงค์ให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญในการรับรู้ข้อมูล การสังเกตสัญญาณเตือน และการปฏิบัติตัวในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจอย่างถูกต้อง
ภาวะหัวใจล้มเหลวเป็นภัยเงียบที่คนไทยน้อยคนจะรู้ตัวและรักษาได้ทันท่วงที ปัจจุบันสถิติการเสียชีวิตจากภาวะหัวใจล้มเหลวในประเทศไทยยังไม่มีทีท่าที่จะลดลง และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นถึง 20 – 30% ต่อปี ซึ่งมากกว่า 2 – 3 เท่าของผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากโรคมะเร็งบางชนิดเสียอีก ดังนั้นการให้ความรู้ต่อประชาชน เพื่อลดความเสี่ยง จึงมีความสำคัญอย่างมาก เพราะภาวะหัวใจล้มเหลวจะทำให้ร่างกายเกิดความอ่อนแอ โดยจะส่งผลให้เกิดอันตรายถึงชีวิตแบบเฉียบพลันได้ เนื่องจากหัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกายได้อย่างเพียงพอ ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการที่กล้ามเนื้อหัวใจที่ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดนั้นอ่อนแรงลงหรือมีการแข็งตัวของกล้ามเนื้อเป็นเวลานาน
ทั้งนี้ ความรู้เกี่ยวกับภาวะหัวใจล้มเหลวจึงมีความสำคัญและเพื่อให้ทุก ๆ คนสามารถเข้าใจและเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับภาวะหัวใจล้มเหลวนี้ได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้น โครงการ Every Beat Matters จึงได้จัดทำวีดีโอชุดทีมสหสาขาวิชาชีพ (Multidisciplinary Team Video Series) เพื่อส่งเสริมและให้ความรู้ในเรื่องภาวะหัวใจล้มเหลวแก่ผู้ป่วยในการดูแลและรักษาที่ถูกต้อง โดยได้รับความร่วมมือจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและทีมสหสาขาวิชาชีพทั้ง 10 ท่าน ผ่านวิดีโอซีรี่ย์ 10 ตอน ได้แก่
Medical Expert Video – Episode 1 ภาวะหัวใจล้มเหลวกับผลกระทบในด้
Medical Expert Video – Episode 2 ภาวะหัวใจล้มเหลวในผู้สูงอายุ
Medical Expert Video – Episode 3 สาเหตุและอาการสำคัญของภาวะหั
Medical Expert Video – Episode 4 การวินิจฉัยและแนวทางการรั
Medical Expert Video – Episode 5 ภาวะแทรกซ้อนและปัจจัยเสี่ยงต่
Medical Expert Video – Episode 6 การดูแลตัวเองสำหรับผู้ป่
Nurse Video – การสังเกตอาการเบื้องต้
Pharmacist Video – การใช้ยาอย่างปลอดภัยในผู้ป่
Nutritionist Video – อาหารที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่
Cardiac Rehabilitationist – การออกกำลังกายที่เหมาะสำหรับผู้