“การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม เป็นการผ่าตัดใหญ่ในทางออร์โธปิดิกส์ มีมาราว 80 ปี และมีพัฒนาการทางเทคนิคการผ่าตัดต่อเนื่องจากเดิมใช้กระเพาะหมูแทนส่วนของข้อที่เสียหาย หรือตัดเอาข้อที่เสียหายออก จนปัจจุบันมีการใช้เทคนิคและวัสดุที่ใช้ในการทำข้อสะโพกเทียมใหม่ๆ เพื่อช่วยให้คนไข้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น” นายแพทย์สุทร บวรรัตนเวช ผู้อำนวยการใหญ่ ศูนย์อุบัติเหตุและออโธปิดิกส์ ในเครือ บมจ.กรุงเทพดุสิตเวชการ และผู้อำนวยการอาวุโส ศูนย์กระดูกและข้อ รพ.กรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล ผู้บุกเบิกเทคนิคการผ่าตัดข้อสะโพกเทียมโดยไม่ตัดกล้ามเนื้อในประเทศไทย กล่าว
โรคข้อสะโพกเกิดจากผิวข้อทั้งด้านหัวสะโพก (femoral head) และด้านเบ้าสะโพก (acetabulum) ถูกทำลาย หากรุนแรงมากร่างกายจะไม่สามารถสร้างกระดูกอ่อนผิวข้อที่มีคุณสมบัติเหมือนเดิมขึ้นมาทดแทนได้ เกิดความเสื่อมแบบถาวร การรักษาขั้นแรกแพทย์จะให้ยาลดอาการปวด ลดการอักเสบ ร่วมกับกายภาพบำบัด หากไม่ได้ผลจำเป็นต้องผ่าตัดซึ่งปัจจุบันมีหลายเทคนิค ส่วนใหญ่ ประมาณ 90-95% เป็นการผ่าตัดจากทางด้านหลัง (posterior approach) ซึ่งต้องตัดกล้ามเนื้อ จึงเกิดแผลใหญ่และอาจมีภาวะแทรกซ้อนเช่น ติดเชื้อ หรือข้อสะโพกหลุดไปทางด้านหลัง ต่อมาจึงมีการพัฒนาเทคนิคการผ่าตัดเข้าจากด้านหน้าข้อสะโพก (direct anterior approach) เข้าระหว่างกล้ามเนื้อ ไม่จำเป็นต้องตัดกล้ามเนื้อ โดยผู้ป่วยจะนอนหงายขณะผ่าตัด ช่วยให้ใส่ข้อสะโพกเทียมได้ตรงจุดและประเมินความยาวของขาได้แม่นยำขึ้น แผลผ่าตัดจะอยู่ด้านหน้า (anterior) และมีขนาดเล็กลงจากเดิม สูญเสียเลือดน้อยกว่า ลดความเจ็บปวด คนไข้ฟื้นตัวเร็วกว่ามาก และลดโอกาสข้อสะโพกหลุด
นายแพทย์สุทร กล่าวเพิ่มเติมว่า “การผ่าตัดข้อสะโพกเทียมแบบไม่
นายแพทย์พนธกร พานิชกุล ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ เฉพาะทางด้านการผ่าตัดเปลี่ยนข้
สำหรับโครงการอบรมแพทย์ผ่าตัด DAA จัดขึ้นปีละครั้ง ต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 4 แล้ว แต่ละปีมีแพทย์จากทั่วประเทศเข้
โครงการอบรมแพทย์ผ่าตัด DAA เปิดโอกาสให้แพทย์ที่สนใจเข้าเรียนฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ประกอบด้วยการเรียนทฤษฎี การเรียนผ่าตัดกับอาจารย์ใหญ่ ผ่าตัดจริงควบคู่กับการปรึกษาแพทย์พี่เลี้ยง และติดตามการผ่าตัดเป็นระยะ และเมื่อเร็วๆ นี้ ได้เพิ่มคอร์สออนไลน์เข้ามาเพื่อแก้ปัญหาที่ไม่สามารถเข้าเรียนแบบปกติในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 นอกจากนี้คอร์สออนไลน์ยังช่วยปูพื้นฐานก่อนภาคปฏิบัติ ทั้งมุมมองกายวิภาคที่เปลี่ยนไป การเลือกใช้ข้อสะโพกเทียมให้เหมาะกับเทคนิคการผ่าตัดชนิดนี้ ข้อควรระวัง ผลแทรกซ้อน โดยเฉพาะเคสตัวอย่างที่ยากและซับซ้อน ช่วยให้แพทย์มั่นใจในเนื้อหาและเรียนรู้ได้เร็วยิ่งขึ้น
นายแพทย์พนธกร แพทย์ไทยที่ได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนแพทย์ในทวีปเอเชีย ร่วมกับคณะกรรมการแพทย์ DAA Global Committee อีก 7 ท่าน ตัวแทนจากทุกทวีปทั้ง อเมริกา ละตินอเมริกา อเมริกาใต้ ยุโรป แคนาดา ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ เพื่อสร้างและพัฒนาเทคนิคการผ่าตัด DAA ให้เป็นแบบมาตรฐานเดียวกันแก่แพทย์ทั่วโลก กล่าวเพิ่มเติมว่า “โครงการอบรมแพทย์ผ่าตัด DAA เป็นกิจกรรมเพื่อสังคมที่แพทย์สามารถเข้าเรียนได้ฟรี เราได้ทุ่มเททรัพยากรทั้งบุคลากรทางการแพทย์และค่าใช้จ่ายต่างๆจำนวนมาก เพื่อต้องการให้แพทย์ใช้เทคนิคการผ่าตัดนี้กันอย่างแพร่หลาย โดยในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา จำนวนศัลยแพทย์ที่ใช้การผ่าตัดด้วยเทคนิค DAA ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจาก 10% เป็น 50% ในระยะเวลาเพียง 10 ปี ดังนั้นหากเราต้องการยกระดับการรักษาการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมในประเทศไทยให้ทัดเทียมต่างประเทศนั้น เราควรมีการส่งเสริมให้แพทย์ไทยเรามีความรู้ ความเข้าใจในเทคนิคนี้ให้มากขึ้น โดยเชื่อว่าสุดท้ายคนไข้ก็จะเป็นผู้ได้รับประโยชน์ในที่สุด”