ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ SACICT ประสบความสำเร็จอย่างดีกับการจัดกิจกรรมพิเศษ “สักการะ ครู อาจารย์งาน ช่าง“ และ เปิดกรุ “ผ้า” หาเจ้าของ (ใหม่) จากเหล่าคนดัง ภายใต้นิทรรศการ “หัตถกรรมแห่งบรรพชนไทย ใต้ร่มพระบารมี” แสดงผลงานศิลปหัตถกรรมเก่าแก่ทรงคุณค่าและล้ำค่า ณ หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อเร็วๆนี้
ภายในพิธี “สักการะ ครู อาจารย์งาน ช่าง” จัดตามประเพณีโบราณเต็มรูปแบบเป็นครั้งแรก มีเพื่อให้ทุกเพื่อเป็นสิริมงคล และรำลึกถึงบรรพบุรุษที่ได้ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ให้ลูกหลานได้สืบทอดต่อมา โดยมีครูศิลป์แห่งแผ่นดิน ครูช่าง และทายาทช่างศิลป์หลายสาขา ให้เกียรติร่วมงาน
นอกจากนี้ในช่วงบ่ายพบกับ กิจกรรม เปิดกรุ “ผ้า” หาเจ้าของ (ใหม่) จากนักสะสมผ้าไทย เจ้าของกรุผ้าที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญและรักผูกพันในผืนผ้า ได้นำผ้าผืนรักมาประมูลเพื่อหาเจ้าของคนใหม่ โดยผ้าที่นำมาประมูลมีทั้งผ้าอายุเก่าแก่เพื่อเก็บนำไปเก็บรักษาไว้ศึกษาต่อไป หรือเพื่อนำไปประยุกต์ตัดเย็บเป็นเครื่องนุ่งห่มในชีวิตประจำวัน ซึ่งรายได้จากการประมูลภายหลังหักค่าใช้จ่ายจะมอบให้กับ สมาคมครูช่างศิลปหัตถกรรม ซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นสวัสดิการ ดูแลและช่วย ครูศิลป์และครูช่างทุกแขนง เช่น กรณีเจ็บป่วย ฉุกเฉิน ประสบภัยพิบัติต่างๆ เป็นต้น
ทั้งนี้ การจัดกิจกรรมดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึง บทบาทที่สำคัญของศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ พัฒนางานศิลปหัตถกรรมไทยในทุกมิติ ทั้งการดูแลบุคคลากรที่สำคัญต่อวงการศิลปหัตถกรรมเท่านั้น หากแต่ยังรวมถึงการอนุรักษ์และฟื้นฟู สร้างคุณค่าผ่านการนำงานหัตถศิลป์ไทยก้าวสู่เวทีโลก จากการดำเนินงานพบว่า ศิลปหัตถกรรมไทยสามารถพัฒนาเป็นอาชีพได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มสตาร์อัพ ดังจะเห็นได้จากทายาทครูศิลป์ ทายาทครูช่าง และคนรุ่นใหม่มีความสนใจในงานหัตถศิลป์มากขึ้น เกิดการพัฒนาทางการตลาด โดยยังคงคุณค่าในทักษะฝีมือ เนื่องจากศิลปหัตถกรรมไทยเป็นงานประณีต ที่ต้องใช้ทักษะบุคคลหรือฝีมือในการผลิตทั้งกระบวนการ จึงทำให้ผลิตได้จำกัด จึงควรมีการนำเทคนิคคราฟท์ เช่น การเตรียมวัตถุดิบ การวิจัยเครื่องมือมาช่วยลดทอนแรงงานและเวลา ให้สามารถสร้างสรรค์ชิ้นงานใหม่และการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้มากขึ้น
ปัจจุบัน กระแสความนิยมในแฟชั่นแบรนด์เนมได้เปลี่ยนแปลงไป ผู้บริโภคได้หันมาสนใจมรดกทางวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมา (Heritage Fusion) หรือ ภูมิปัญญาท้องถิ่น (local wisdom) เพิ่มมากขึ้น จึงเป็นโอกาสอันดีที่คนไทยทุกคนจะได้ร่วมกันสืบสานงานหัตถศิลป์ของไทย อันเป็นความภาคภูมิใจของประเทศชาต อีกทั้ง ปัจจุบันความนิยมในการเลือกใช้วัตถุดิบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมีเพิ่มขึ้น เช่น การใช้สีจากธรรมชาติ การใช้วัสดุเพื่อลดปริมาณขยะ การตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคก็มิได้เป็นไปเพื่อตอบสนองแต่เพียงความชื่นชอบและรสนิยมแต่เพียงอย่างเดียว หากแต่คำนึงถึงอัตลักษณ์หรือเอกลักษณ์ที่สะท้อนตัวตนของผู้ใช้ด้วย ดังนั้น คนรุ่นใหม่จึงมองว่าหัตถศิลป์ไทยไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกแต่ต่อไป แต่กลับมาร่วมกับศึกษาเพื่ออนุรักษ์ และสร้างพลังความคิดใหม่ๆ เพื่อสืบสานศิลปหัตถกรรมไทยต่อไป