จากซ้ายไปขวา

  • คุณนภดล ไกรฤกษ์ นายกสมาคม สมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย
  • มร.แกรน๊อต ริงลิ่ง กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมสเซ่ ดุสเซลดอร์ฟ เอเชีย
  • คุณเกรียงไกร เธียรนุกุล รองประธาน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
  • คุณพิมพ์นารา จิรานิธินนท์ นายกสมาคม สมาคมการพิมพ์ไทย
  • มร.ราบี เรซีลี่ ที่ปรึกษาด้านอาหารและการเกษตร องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ
  • คุณศุภวรรณ ตีระรัตน์, รองผู้อํานวยการสายงานกลยุทธ์และพัฒนาธุรกิจ สำนักงานส่งเสริมการจัดการประชุมและนิทรรศการ (สสปน.)

กรุงเทพ, ประเทศไทย – 24 สิงหาคม 2560; แพ็ค พริ้นท์ อินเตอร์เนชั่นแนล 2017 งานจัดแสดงสินค้าเพื่ออุตสาหกรรมการพิมพ์และการบรรจุภัณฑ์ชั้นนำ ได้กลับมาจัดแสดงที่ประเทศไทยเป็นครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 20 – 23 กันยายน 2560 ซึ่งได้รับการจัดแสดงตามงานแสดงสินค้าชั้นนำอันดับหนึ่งของโลกอย่าง งานดรูป้า และ อินเตอร์แพ็ค จัดขึ้นโดยความร่วมมือไตรภาคีระหว่าง สมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย สมาคมการพิมพ์ไทย และเมสเซ่ ดุสเซลดอร์ฟ เอเชีย

งานแสดงสินค้านานาชาติเพื่ออุตสาหกรรม จัดโดยอุตสาหกรรม งาน แพ็ค พริ้นท์ อินเตอร์เนชั่นแนล 2017 จะครอบคลุมทั่วทั้งห่วงโซ่ของอุตสาหกรรมการบรรจุภัณฑ์และการพิมพ์ –จากแนวคิดสู่การผลิต รวมถึงสะท้อนความร่วมมือที่สอดคล้องระหว่างการพิมพ์และการบรรจุภัณฑ์

ด้วยแนวคิด “การบรรจุภัณฑ์และการพิมพ์สู่มิติใหม่แห่งอนาคต” งานจัดแสดงสินค้าในปีนี้จะนำเสนอที่สุดของ อุปกรณ์ เครื่องจักร และโซลูชั่นการทำงาน รวมถึงการนำเสนอนวัตกรรมและเทคโนโลยีล้ำสมัย โดยบริษัทชั้นนำของอุตสาหกรรมถึง 300 ราย จาก 24 ประเทศ รวมทั้งกลุ่มประเทศต่างๆ 6 แห่งจาก เยอรมนี ไต้หวัน จีน ไทย ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ ซึ่งเข้าร่วมเป็นครั้งแรกในครั้งนี้ รวมถึงผู้เยี่ยมชมงานกว่า 15,000 รายจากทั่วทุกมุมโลก นอกจากนี้ ยังมีการจัดโซนเพื่อสร้างเครือข่ายและการจับคู่ทางธุรกิจให้กับผู้จัดแสดงและผู้เยี่ยมชมงานอีกด้วย

การเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมการพิมพ์และการบรรจุภัณฑ์ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต
นับตั้งแต่การเปิดตัวในปี พ.ศ. 2550 แพ็ค พริ้นท์ อินเตอร์เนชั่นแนล ได้มีบทบาทสำคัญในการผลักดันประเทศไทย สู่การเป็นศูนย์กลางการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ของภูมิภาค รวมถึงกระตุ้นความสนใจในภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องอีกด้วย ซึ่งทัศนวิสัยนี้มีความสำคัญยิ่งขึ้นเมื่อมีการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) รวมไปถึงแนวทางโมเดลพัฒนาเศรษฐกิจ“ประเทศไทย 4.0”

“ในขณะที่ประเทศไทยก้าวไปสู่ยุทธศาสตร์ ‘Thailand 4.0’ ซึ่งอุตสาหกรรมขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม อุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ของไทยกำลังปรับตัวตามยุทธศาสตร์ Thailand 4.0 โดยนำเทคโนโลยีที่ทันสมัย นวัตกรรมใหม่ๆ มาเพิ่มขีดความสามารถ และการเติบโตที่ยั่งยืนของอุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย” คุณพิมพ์นารา จิรานิธิศนนท์ นายกสมาคมการพิมพ์ไทย กล่าว

ค่าใช้จ่ายของผู้บริโภคในประเทศไทยมีการเติบโตสูงสุดถึง 1,281,730 ล้านบาทในไตรมาสแรกของปี 2560 ซึ่งส่งผลให้การผลิตเพิ่มขึ้น ทั้งยังเสริมการเติบโตในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ของไทยอย่างต่อเนื่อง

“อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ของไทยจะยังคงเติบโตควบคู่ไปกับความสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีความต้องการสูงขึ้น ซึ่งนำโดยการเปลี่ยนแปลงของประชากรและแนวโน้มทางสังคม ในการทำเช่นนี้คุณลักษณะสำคัญของ พาวิเลี่ยนครบวงจรสำหรับอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ ของ แพ็ค พริ้นท์ อินเตอร์เนชั่นแนล ในปีนี้คือการจัดตำแหน่งที่เหมาะสมกับตลาดบรรจุภัณฑ์ของวันนี้และอนาคต โดยนำเสนอผ่านสามเสาหลักสำคัญของการบรรจุภัณฑ์กระบวนการผลิตบรรจุภัณฑ์ และ การผลิตบรรจุภัณฑ์” คุณนภดล ไกรฤกษ์ นายกสมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย กล่าว

ประโยชน์ทางเศรษฐกิจมหภาคที่ได้จากการพัฒนาอุตสาหกรรมการบรรจุภัณฑ์และการพิมพ์
การขับเคลื่อนไปสู่ ‘ประเทศไทย 4.0’ จะทำให้ประเทศมีโอกาสและแนวทางใหม่ๆ ด้วยการยกระดับอุตสาหกรรมที่มีอยู่ ตั้งแต่อุตสาหกรรมยานยนต์ ไปจนถึงอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พร้อมกับการพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ถึง 5 ภาคส่วน ซึ่งประกอบด้วย ด้านหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ด้านการบินอวกาศ ด้านดิจิตอล ด้านพลังงานชีวภาพและสารชีวเคมี ด้านการแพทย์และการดูแลสุขภาพ และด้านบรรจุภัณฑ์และสิ่งพิมพ์ โดยการพัฒนาควบคู่กันไปจะต้องสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงขึ้นและมีการลงทุนด้านเทคโนโลยี การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ กระบวนการผลิตและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมทางผลิตภัณฑ์ เพื่อดำรงความศักยภาพของการแข่งขันต่อไป

ในฐานะผู้ผลิตกระดาษบรรจุภัณฑ์รายใหญ่ที่สุดของอาเซียน ที่มีกำลังการผลิต 3.5 ล้านตัน ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการจัดหาและจัดซื้อในภูมิภาคสำหรับเทคโนโลยีการพิมพ์ในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านที่มีการส่งออก ได้แก่ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม ซึ่งได้รับการเกื้อหนุนจากการเติบโตของอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงความต้องการของบรรจุภัณฑ์กระดาษในอุตสาหกรรมปลายน้ำ เช่น อาหารสำเร็จรูป เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์เพื่อผู้บริโภค ซึ่งจะเป็นแรงผลักดันสำคัญของอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์และการพิมพ์ของไทย

สืบเนื่องจากผลลัพธ์ของการจัดนิทรรศการทางการค้าอย่าง แพ็ค พริ้นท์ อินเตอร์เนชั่นแนล ซึ่งสร้างโอกาสทางการตลาดให้แก่ภาคอุตสาหกรรมของประเทศ คุณเกรียงไกร เธียรนุกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า “นิทรรศการครั้งนี้เกิดขึ้นในช่วงเวลาสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและการเติบโตของประเทศไทย และมีบทบาทสำคัญในการนำเครื่องจักรที่มีความต้องการสูงมาใช้และการใช้งานที่ทันสมัย เพื่อเสริมสร้างความสามารถในธุรกิจการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ของไทย และยังเป็นเวทีสำคัญสำหรับ บริษัทท้องถิ่นในการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจที่มีอิทธิพลกับผู้นำระดับโลก”

ความคิดของคุณเกรียงไกร ยังสอดคล้องกับความเห็นของคุณศุภวรรณ ตีระรัตน์ รองผู้อำนวยการ สายงานกลยุทธ์และพัฒนาธุรกิจ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (สสปน.) ” สสปน. มีความภูมิใจที่จะสนับสนุนงานแสดงสินค้าและตลาดโลกที่เชื่อมต่อธุรกิจนี้ ภายใต้แบรนด์ Thailand CONNECT ซึ่งเป็นการยืนยันอีกครั้งว่าประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางทางธุรกิจที่ยอดเยี่ยมรวม และเป็นการชู 3 เสาหลักของอุตสาหกรรมไมซ์ไทยที่ประกอบไปด้วย จุดหมายปลายทางที่หลากหลาย (Diverse Destination) ศูนย์กลางการดำเนินธุรกิจ (Business Opportunities) และบุคลากรและบริการที่ได้มาตรฐาน (People of Thailand)

สิ่งที่น่าสนใจในงาน แพ็ค พริ้นท์ อินเตอร์เนชั่นแนล 2017 บ้าง?
การเปิดตัวของ พาวิเลี่ยนครบวงจรสำหรับอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ ซึ่งเปรียบเสมือนแพลตฟอร์ม ที่นำเสนอนวัตกรรมการออกแบบบรรจุภัณฑ์ สำหรับ ผู้ออกแบบบรรจุภัณฑ์ ผู้ใช้และผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ ผู้จัดจำหน่ายวัตถุดิบและผู้ผลิตเครื่องจักร เพื่อหาแหล่งและแบ่งปันแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในการนำระบบนิเวศของผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์และการพิมพ์แบบไดนามิก โดยพาวิเลี่ยนจะมีการนำเสนอผลงานบรรจุภัณฑ์จากประเทศไทยที่ได้รับรางวัลนวัตกรรมและสร้างสรรค์ กว่า 25 ชิ้น นอกจากนี้ ยังมีการจัดตั้งคลินิกให้คำปรึกษาฟรี โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของทางด้านการบรรจุภัณฑ์และพิมพ์ รวมถึงนำเสนอช่วงจัดแสดงสินค้าที่ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ ปั๊มฟอยล์ และเทคโนโลยีปั๊มร้อน เพื่อแก้ปัญหาการบรรจุภัณฑ์และผลิตภัณฑ์ใบมีดแพทย์

ไฮไลต์อื่นๆได้แก่ โซนการพิมพ์ฉลาก (Labelling Zone) – งานแสดงสินค้าซึ่งมุ่งเน้นไปทางเทคโนโลยีการพิมพ์ฉลาก รวมถึง Automation & Robotics Pavilion
ซึ่งจะประกอบไปด้วยโซลูชั่นหุ่นยนต์ และเครื่องจักรมีชีวิตซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลให้กับงานบรรจุภัณฑ์

ภายในงาน แพ็ค พริ้นท์อินเตอร์เนชั่นแนล 2017 นอกจากจะมีการจัดแสดงสินค้าแล้ว ยังมีงานประชุม สัมมนา และการนำเสนอด้านเทคนิค นำโดยหลากหลายองค์กรในอุตสาหกรรม และในครั้งนี้ยังมีการจัดงานประชุมที่สำคัญในหัวข้อ “การสูญเสียและของเสียในกระบวนการผลิตอาหาร (Food Loss and Waste)” ซึ่งเป็นการร่วมมือกับองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO)

“เรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ในการผลักดันให้เกิดการแก้ไขปัญหาเพื่อลดการสูญเสียอาหารและของเสียในภูมิภาค ทางเราเชื่อว่าแพลตฟอร์มนี้จะสร้างโอกาสให้แก่ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในห่วงโซ่คุณค่า เพื่อหารือเกี่ยวกับการลดระดับการสูญเสียและของเสียในกระบวนการผลิตอาหาร และเรียนรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมโซลูชั่นด้านบรรจุภัณฑ์ใหม่ๆ โดยผู้ใช้เทคโนโลยี เพื่อเข้าถึงวิธีการเชื่อมโยงระหว่างคู่ค้าในห่วงโซ่อาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ”
คุณราบี้ ราซิลี ที่ปรึกษาด้านอาหารและระบบการเกษตร องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย กล่าว

ปิดท้ายด้วยหลากหลายงานสัมมนา ได้แก่ งานสัมมนาเกี่ยวการวิจัยบรรจุภัณฑ์นานาชาติและนวัตกรรมเป็นเวลาสองวัน ซึ่งจัดโดย ภาควิชาเทคโนโลยีการบรรจุและวัสดุ (PKMT) และคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เครือข่ายบรรจุภัณฑ์เอเชีย (APN) สมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย และสมาคมการพิมพ์ไทย รวมถึงการประชุมบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม เกี่ยวกับแนวโน้มการบรรจุภัณฑ์สำหรับยุคต่อไป พร้อมด้วยเวิร์คช็อปโดย สมาคมธุรกิจการถ่ายภาพ ตลอดจนการนำเสนอทางเทคนิคฟรีจากผู้จัดงาน

ท่านที่สนใจลงทะเบียนเพื่อเข้าชมงาน แพ็ค พริ้นท์ อินเตอร์เนชั่นแนล 2017 สามารถรับชมข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.pack-print.de


เกี่ยวกับผู้จัดงาน

บริษัทเมสเซ่ ดุสเซลดอร์ฟ เอเชีย เป็นบริษัทในเครือของบริษัทเมสเซ่ ดุสเซลดอร์ฟ จีเอ็มบีเอช ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทผู้จัดงานแสดงสินค้าภาคธุรกิจอุตสากรรมชั้นนำของโลก เริ่มก่อตั้งศูนย์กลางดำเนินงานในประเทศสิงค์โปรขึ้นในปี 1995 บริษัทเมสเซ่ ดุสเซลดอร์ฟ เอเชีย จัดงานแสดงสินค้าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเจ้าของงานแสดงสินค้าอันดับ 1 ของโลก ภายใต้การดำเนินงานของบริษัท เมสเซ่ ดุสเซลดอร์ฟ กรุ๊ป ได้แก่

  • การพิมพ์และการบรรจุภัณฑ์ (PACK PRINT INTERNATIONAL)
  • พลาสติก และ ยาง (ที-พลาส, พลาสติก แอนด์ รับเบอร์ เวียดนาม และอินโดพลาส INDOPLAS)
  • อุตสาหกรรมลวด เคเบิล ท่อ และท่อร้อยสาย ในประเทศไทย (ไวเออร์ เซ้าท์อีสเอเชีย wire Southeast ASIA และทูปเซ้าท์อีสเอเชีย Tube Southeast ASIA)
  • การแพทย์และการดูแลสุขภาพ (MEDICAL FAIR THAILAND เมดดิคอลแฟร์ เอเชีย MEDICAL FAIR ASIA เมดดิคอล แมนูแฟคเจอร์ริ่ง เอเชีย MEDICAL FAIR ASIA)
  • อุตสาหกรรมสุขลักษณะและความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน (โอเอสพลัสเอช เอเชีย OS+H Asia)
  • อุตสาหกรรมการค้าเหล็กและเหล็กกล้า (อิโดเมทัล indometal)
  • อุตสาหกรรมไวน์และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ (โปรไวน์ เอเชีย ProWine Asia)

บริษัทมุ่งมั่นที่จะเพิ่มมูลค่าแพลตฟอร์มทางการตลาดให้กับงานแสดงสินค้าทุกงาน รวมถึงการจัดโปรแกรมให้การสนับสนุนอย่างเข้มข้นในการทำสื่อโฆษณาและโปรโมชั่น การส่งจดหมายโดยตรงถึงกลุ่มลูกค้า การจับคู่ทางธุรกกิจ และการวางแผนในการโปรโมทอุตสาหกรรม ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อสื่อสารไปยังกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย งานจัดแสดงสินค้าแต่ละงานได้รับการสร้างสรรค์ให้มีความเหมาะสมในการสร้างเครือข่าย การสร้างความสัมพันธ์ การแชร์ประสบการณ์และไอเดียทางธุรกิจ และเปิดโอกาสในการทำงานร่วมกันระหว่างคู่ค้าทั้งในปัจจุบันและผู้ค้าที่มีศักยภาพ รวมไปถึงการสร้างสัมพันธ์อันดี ทั้งหมดนี้คือปัจจัยที่สำคัญในการทำธุรกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

http://mda.messe-dusseldorf.com/