ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ภายหลังจากนิทรรศการ “ออกแบบ แบบญี่ปุ่น” หรือ “Japanese Design Today 100” นิทรรศการระดับโลกจากแดนอาทิตย์อุทัย ได้เดินทางมาเยือนประเทศไทยเป็นครั้งแรก และจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ญี่ปุ่นจำนวน 100 ชิ้น ณ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ กรุงเทพฯ (TCDC กรุงเทพฯ) และ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ เชียงใหม่ (TCDC เชียงใหม่) ที่ผ่านมา ได้สร้างแรงบันดาลใจ และกระตุ้นต่อมคิดสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ แก่นักออกแบบ เยาวชนไทยในพื้นที่กรุงเทพฯ และเชียงใหม่ ที่เข้าร่วมชมเป็นอย่างมาก โดยในมุมของนักออกแบบรุ่นใหม่มองว่า “Design for Function หรือการดีไซน์เพื่อตอบโจทย์การใช้งานเป็นหลัก ถือเป็นแนวคิดการออกแบบที่น่าสนใจ และยังคงนำมาปรับใช้ได้จนถึงปัจจุบัน” ขณะที่นักศึกษามองว่า “จากผลงานการออกแบบและความคิดสร้างสรรค์ที่ได้รับจากนิทรรศการ สามารถนำไปปรับใช้และเพิ่มไอเดียในการสร้างสรรค์ผลงานในอนาคตได้เป็นอย่างดี”
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) และ เจแปนฟาวน์เดชั่น ประเทศไทย (Japan Foundation) จึงไม่รอช้า เคลื่อนกองทัพนิทรรศการออกแบบ แบบญี่ปุ่น ไปสร้างแรงบันดาลใจการดีไซน์ผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ๆ ณ หัวเมืองใหญ่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ใจกลางเมืองขอนแก่นอย่าง หอศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ (FAG) มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อเปิดมุมมองใหม่เกี่ยวกับการดีไซน์ผลิตภัณฑ์แก่คนนิวเจน ที่นอกจากการคิดผลิตเพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้จริงแล้ว นักออกแบบชาวญี่ปุ่นมีกระบวนการคิดผลิต คิดต่อยอดหรือคิดเลือกใช้วัสดุในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์อย่างไร ให้เป็นที่สนใจของผู้ใช้งานที่ต่างช่วงวัย และต่างเชื้อชาติในหลายยุคสมัย
คุณโนริโกะ คาวาคามิ หนึ่งในภัณฑารักษ์ผู้คัดเลือกวัตถุจัดแสดงภายในนิทรรศการ “ออกแบบ แบบญี่ปุ่น” ได้กล่าวย้ำถึงสิ่งที่ทำให้ผลงานการดีไซน์ของญี่ปุ่นได้สร้างอิทธิพลแก่นักออกแบบและผู้ใช้งานทั่วโลก คือ “จิตวิญญาณ” จิตวิญญาณที่มุ่งแสวงหาสิ่งที่ดีขึ้นอยู่เสมอ ซึ่งจิตวิญญาณนี้มิได้แฝงอยู่ในดีไซเนอร์เท่านั้น แต่ยังแฝงอยู่ในทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิต ทั้งดีไซเนอร์ ช่างฝีมือ หรือแม้กระทั่งวิศวกร ที่มีคุณลักษณะใน 3 ด้าน คือ ความเอาใจใส่ การออกแบบผลงานที่คำนึงถึงสภาพแวดล้อมเป็นสำคัญ เช่น รถยนต์ประหยัดพลังงาน หรือแม้กระทั่งการเตรียมรับมือสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น เสื้อโค้ทเพื่อชีวิต ที่สามารถพกของใช้สำคัญได้มากกว่า 10 ชิ้น ความสมบูรณ์แบบ การผสมผสานจิตวิญญาณและเทคนิคงานฝีมือดั้งเดิม สู่การสร้างสรรค์งานออกแบบที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เช่น โคมไฟตั้งโต๊ะ ที่สร้างขึ้นด้วยเทคนิคการทำเครื่องเขิน หรือวอล์คแมน (Walkman) ผลงานสมัยใหม่ที่ใส่มุมมองความสมบูรณ์แบบอย่างดั้งเดิมเข้าไป และ ความเชื่อมโยง การใช้ประโยชน์จากอินเตอร์เน็ตในการสื่อสารร่วมกันร่วมกันระหว่าง ผู้ผลิตท้องถิ่นและนักออกแบบรุ่นใหม่ สู่การรังสรรผลงานคุณภาพที่มาพร้อมเทคนิคการออกแบบที่ร่วมสมัย
คุณโนริโกะ คาวาคามิ หนึ่งในภัณฑารักษ์ผู้คัดเลือกวัตถุจัดแสดงภายในนิทรรศการ “ออกแบบ แบบญี่ปุ่น” ได้กล่าวย้ำถึงสิ่งที่ทำให้ผลงานการดีไซน์ของญี่ปุ่นได้สร้างอิทธิพลแก่นักออกแบบและผู้ใช้งานทั่วโลก คือ “จิตวิญญาณ” จิตวิญญาณที่มุ่งแสวงหาสิ่งที่ดีขึ้นอยู่เสมอ ซึ่งจิตวิญญาณนี้มิได้แฝงอยู่ในดีไซเนอร์เท่านั้น แต่ยังแฝงอยู่ในทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิต ทั้งดีไซเนอร์ ช่างฝีมือ หรือแม้กระทั่งวิศวกร ที่มีคุณลักษณะใน 3 ด้าน คือ ความเอาใจใส่ การออกแบบผลงานที่คำนึงถึงสภาพแวดล้อมเป็นสำคัญ เช่น รถยนต์ประหยัดพลังงาน หรือแม้กระทั่งการเตรียมรับมือสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น เสื้อโค้ทเพื่อชีวิต ที่สามารถพกของใช้สำคัญได้มากกว่า 10 ชิ้น ความสมบูรณ์แบบ การผสมผสานจิตวิญญาณและเทคนิคงานฝีมือดั้งเดิม สู่การสร้างสรรค์งานออกแบบที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เช่น โคมไฟตั้งโต๊ะ ที่สร้างขึ้นด้วยเทคนิคการทำเครื่องเขิน หรือวอล์คแมน (Walkman) ผลงานสมัยใหม่ที่ใส่มุมมองความสมบูรณ์แบบอย่างดั้งเดิมเข้าไป และ ความเชื่อมโยง การใช้ประโยชน์จากอินเตอร์เน็ตในการสื่อสารร่วมกันร่วมกันระหว่าง ผู้ผลิตท้องถิ่นและนักออกแบบรุ่นใหม่ สู่การรังสรรผลงานคุณภาพที่มาพร้อมเทคนิคการออกแบบที่ร่วมสมัย
ทั้งนี้ เมื่อผู้เข้าชมได้สัมผัสกับผลงานการออกแบบทั้งหมด 100 ชิ้นซึ่งแบ่งเป็น 89 ผลงานที่สามารถเห็นได้ในชีวิตประจำวัน และ 11 ผลงานที่บ่งบอกถึงลักษณะพิเศษของการออกแบบผลิตภัณฑ์ญี่ปุ่นในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่า งานออกแบบญี่ปุ่น ไม่ได้พยายามจะสร้างเทรนด์หรือไม่ได้จะพยายามจะสร้างกระแสขึ้นมาอย่างเดียว แต่งานออกแบบญี่ปุ่นพยายามจะตอบคำถามอย่างจริงจังว่า สิ่งที่ออกแบบแต่ละชิ้นกำลังตอบโจทย์อะไร ดังนั้นกระบวนการผลิตงานแต่ละชิ้นจึงใช้เวลาค่อนข้างนาน แต่ในขณะเดียวกันผลงานที่ได้ก็จะเป็นสิ่งที่ใช้ต่อไปได้อีกนานเช่นกัน
ด้าน นายอภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (CEA) ได้กล่าวเสริมว่า ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ เชียงใหม่ โดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) ยังคงเดินหน้ายกระดับศักยภาพนักออกแบบไทย ผ่านการเรียนรู้แนวคิดการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ในชีวิตประจำวันที่เข้าถึงความต้องการของผู้ใช้อย่างแท้จริง ภายใน “ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC)” ทั้ง ทีซีดีซี กรุงเทพฯ (TCDC กรุงเทพฯ) ทีซีดีซี เชียงใหม่ (TCDC เชียงใหม่) รวมถึงมินิ ทีซีดีซี (miniTCDC) ณ สถาบันการศึกษาทั้วประเทศ เพื่อกระตุ้นและสร้างแรงบันดาลใจแก่นักออกแบบรุ่นใหม่ รวมถึงประชาชนที่สนใจ ในการผสมผสานความคิดสร้างสรรค์ไปกับทุกสิ่งที่อยู่รอบตัว ตลอดจนสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการได้ในอนาคต อันนำไปสู่การเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของประเทศในลำดับต่อไป
ทั้งนี้ หากใครไม่อยากพลาดโอกาสสุดท้ายในครั้งนี้ ก็สามารถเดินทางมาชมชิ้นงานทั้ง 100 ชิ้นได้ฟรี! ระหว่างวันที่ 12 – 28 กรกรฎาคม 2562 เวลา 9.00 – 19.00 น. (ทุกวัน ยกเว้นวันอังคารที่ 16 อาสาฬหบูชา วันพุธที่ 17 เข้าพรรษา) ณ หอศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ (FAG) มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งนอกจากจะมีการจัดแสดงชิ้นงานนับร้อยจากฝีมือนักออกแบบญี่ปุ่นแล้ว ในวันแรกของการจัดแสดง ยังมีการบรรยายพิเศษโดยผู้คร่ำหวอดในอุตสาหกรรมออกแบบ อย่าง ดร.ขาม จาตุรงคกุล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาวิชาออกแบบอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น คุณจุฑามาส บูรณะเจตน์ และ ปิติ อัมระรงค์ นักออกแบบจากสตูดิโอ o-d-a (object design alliance) นายอภิสิทธิ์ กล่าว
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ กรุงเทพฯ (TCDC กรุงเทพฯ) อาคารไปรษณีย์กลาง ถนนเจริญกรุง กรุงเทพฯ โทรศัพท์ 02-105-7400 ต่อ 213 , 214 หรือเว็บไซต์ tcdc.or.th และ #JapanDesign100